กล้วยหอมจันทน์

 
     
 
 
 
ชื่อสามัญ                     -
ชื่อพ้อง                        -
ชื่อวิทยาศาสตร์          
Musa (AA group) "Kluai Hom Jan"
แหล่งที่พบ
                  พบทางภาคเหนือ
 

ลักษณะทั่วไป

ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีชมพูอมแดง
ใบ
ก้านใบสีชมพูอมแดง มีนวล ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นใบสีชมพูอมแดง 
ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม เมื่อกาบปลีเปิด ม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด
ผล ก้านเครือตั้งขึ้น เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลเล็ก รูปร่างคล้ายกล้วยเล็กมือนาง ผลเรียงเวียนไปทางเดียวกัน เมื่อสุกสีเหลืองคล้ายกัน กลิ่นหอม เนื้อสีขาวเหลือง รสหวานเนื้อเหนียว
 

การใช้ประโยชน์
ผลใช้รับประทานสด เนื้อผลในสมัยโบราณใช้ผสมทำเนื้อพระสมเด็จ