กล้วยเล็บช้างกุด

 
     
ชื่อสามัญ               Ballbisiana
ชื่อพ้อง                 กล้วยเล็กช้างกุด กล้วยโก๊ะ อีเต่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ 
    Musa (BBB group) "Kluai Lep Chang kut"
แหล่งที่พบ
             พบทางภาคใต้
 

ลักษณะทั่วไป

ต้น ลำต้นสูง 3.5 - 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 - 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวมีนวลไม่มีปื้นดำ ด้านในมีสีเขียว 
ใบ
ก้านใบมีสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลีค่อนข้างป้อมมีความกว้างมาก ปลายมน ด้านนอกมีสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านในมีสีแดงสดใส เมื่อกาบปลีกางออกจะตั้งฉากกับช่อดอก ไม้ม้วนงอขึ้น กาบปลีแต่ละใบจะซ้อนกันลึก
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 14 - 18 ผล ลักษณะผลป้อมคล้ายกล้วยตานี ปลายผลมน ก้านผลยาว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง รสหวาน เนื้อมีแป้งมาก บางผลมีเมล็ด ถ้าต้มแล้วเนื้อจะแน่นเหนียว
 

การใช้ประโยชน์
ผลใช้รับประทานสด